การอนุโมทนาบุญ ยังไงถึงจะได้บุญ

การอนุโมทนาบุญ ยังไงถึงจะได้บุญ
เรื่องการอนุโมทนาบุญ โดยศัพท์เเล้วเรามักจะเห็นในความหมายก็คือพลอยยินดีไปกับการทำดีของผู้อื่น ในคำว่าพลอยยินดี คือเช่นเห็นใครทำอะไรเเล้วเราก็เข้าไปอนุโมทนากับเขา ดูเหมือนไม่น่ามีปัญหาเลย เรื่องก็ไม่น่ามีอะไรซับซ้อนหรือว่าอยากเย็นอะไร เเต่วันนี้พอเราเห็นใครทำบุญ สมมุติว่ามีคนที่ไปทำบุญถวายเงินสร้างโบสถ์วิหาร 1 เเสนบาท มีคนเข้าไปอนุโมทนากับเขา เพื่อจะพลอยยินดีไปกับเขาก็จริง เเต่เกิดมีคำสอนอย่างเช่น ไปอนุโมทนากับใครเเล้วจะได้ผล 10% บ้าง 30% บ้าง วันนี้บางคนก็ยิ่งมากกว่านั้นอีกเพื่อให้คนเร่งอนุโมทนากันให้มาก
มันจึงเกิดข้อคำถามเเล้วก็สงสัยขึ้นมาในใจว่า ในการที่ไปอนุโมทนากับเขาเเล้วไปอยากได้ของคนอื่น 10% บ้าง 30% บ้าง มันยังเป็นจิตเป็นกุศลหรือ? เพราะดูไปดูมา การเดินเข้าไปเพื่อไปอนุโมทนากับเขาไม่ใช่ไปพลอยยินดีเเต่เหมือนคล้าย ๆ จะไปเอา เเล้วยิ่งคำสอนนี้หรือว่าความเชื่อเเบบนี้มากออกไปเรื่อย ๆ มันเริ่มเพี้ยนไปจากหัวใจเดิมที่พลอยยินดีกลายเป็นว่าอนุโมทนากับใครเเล้วได้ 10% คำพูดมันจะหดสั้นลงมาเรื่อย ๆ เด็กรุ่นใหม่วิ่งไล่อนุโมทนากับเขาเพราะอยากจะไปได้ของเขา 10% ความอยากได้เขาเรียกว่าโลภเจตสิก โลภเจตสิกเป็นเชื้อของเปรตวิสัยซึ่งมากขึ้นไปเรื่อย ๆ จะนำมาซึ่งเปรตเมื่อไหร่ไปทำผิด เพราะฉะนั้นเชื้อนี้มันไม่ควรจะมีในการทำบุญทำกุศล
ดังนั้นวันนี้หากเราจะพลอยยินดีหรืออนุโมทนากับใคร เราควรจะเข้าใจอะไรให้ถูกดีกว่า เพราะฉะนั้นวันนี้เรื่องง่าย ๆ นี้จึงอยากให้คนทั่วไปทำให้ถูก เเล้วก็เข้าใจให้ถูก การอนุโมทนาไม่ใช่เรื่องเลวร้ายอะไรเลยเดี๋ยวจะไปเข้าใจผิดว่าการอนุโมทนาจะกลายเป็นเปรต ไม่ใช่ เเต่ผมต้องการชี้ให้เห็นว่าถ้าเมื่อไหร่มีจิตที่มีโลภะเข้าไปปนอย่างนั้นเป็นเปรตวิสัย เป็นเชื้อของเปรตวิสัย
เเต่การที่มุ่งหวังไปเพื่อทำให้คนอื่นมีความสุข เพื่อเป็นการทำให้คนอื่นมีกำลังใจที่จะทำความดี อย่างนี้เรียก อนุโมทนา
อาจารย์ประเสริฐ อุทัยเฉลิม

บทสัมภาษณ์ในรายการ สุขทุกวัน 7 วัน 7 กูรู
(AMARIN TV) (27 มิถุนายน 2558)
https://youtu.be/IXnDE95yjRc?list=PLDzf9cyBwgxCNwRsjZgHTiJdfW0iznaQ5

การทำบุญให้ได้อานิสงค์สูงอย่างเเท้จริง

การทำบุญให้ได้อานิสงค์สูงจริงๆ
ใครที่กำลังสงสัยว่าตัวเองจะไปหาพระอรหันต์ให้ทำบุญด้วยได้จากไหน ในยุคสมัยของพระพุทธเจ้าก็เคยมีคนทูลถามไว้เเล้วเช่นกันว่า ต่อไปในกาลสมัยข้างหน้า เมื่อไม่มีใครรู้ว่าใครเป็นพระอรหันต์ เเล้วจะให้พวกเขาไปทำบุญกับใคร
พระพุทธเจ้าตรัสว่า ก็ทำบุญกับพ่อเเม่ของตัวเองนั่นแหละ…ได้อานิสงส์เท่ากัน
ที่จริงเเล้วโลกนี้มีวิธีการทำบุญอยู่มากมาย นั่นคือ บุญกิริยาวัตถุ ๑๐ ซึ่งไม่ต้องใช้เงินซื้อหาเลยด้วยซ้ำ อันได้เเก่
๑. ทานมัย การทำบุญด้วยการให้
๒. สีลมัย การทำบุญด้วยการรักษาศีลเเละประพฤติดี
๓. ภาวนามัย การทำบุญด้วยการเจริญภาวนา
๔. อปจายนมัย การทำบุญด้วยการประพฤติอ่อนน้อม
๕. เวยยาวัจจมัย การทำบุญด้วยการช่วยเหลือขวนขวายรับใช้
๖. ปัตติทานมัย การทำบุญด้วยการเฉลี่ยส่วนความดีให้ผู้อื่น
๗. ปัตตานุโมทนามัย การทำบุญด้วยการยินดีในความดีของผู้อื่น
๘. ธัมมัสสวนมัย การทำบุญด้วยการฟังธรรม
๙. ธัมมเทสนามัย การทำบุญด้วยการสั่งสอนธรรม
๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์ การทำบุญด้วยการทำความเห็นให้ตรง
การทำบุญให้ได้อานิสงส์สูงจริงๆ นั้น ต้องไม่หวังสิ่งตอบเเทน จึงเป็นการสละออกอย่างเเท้จริง จัดว่าเป็น ทานบารมี เเต่หากเราหวังจะได้อานิสงส์ มีโลภะประกอบจิตเข้าไปด้วย ผลที่ได้รับจะบริสุทธิ์ยิ่งใหญ่อย่างที่บอกก็หาไม่ ฉะนั้น การทำบุญจงมองให้พ้นเรื่องของตัวบุคคลไป ทำเพราะว่าเป็นสิ่งสมควรทำ ทำเเล้วจะไม่สุข ไม่ทุกข์ ไม่ได้ทำเพื่อตนเองเเต่ทำเพื่อผู้อื่น ทำเพื่อศาสนา ทำเพื่อประเทศชาติ ทำเพราะเห็นว่าจะเกิดประโยชน์กับผู้อื่น ไม่ใช่เพราะอยากได้บุญเเต่อย่างใด เเละเมื่อจิตเกิดปัญญาเต็มที่เเล้วก็จะไม่ทำเพื่ออะไรทั้งสิ้น
อาจารย์ประเสริฐ อุทัยเฉลิม
ส่วนหนึ่งจากหนังสือ “นิพพานชั่วพริบตา”

นิพพานชั่วพริบตา

ท่านสามารถหาอ่านหนังสือเล่มนี้ได้ที่
– ร้านนายอินทร์ : http://goo.gl/oSFjEP
– ร้านซีเอ็ด : https://se-ed.com/s/bXrE
– ร้านสวนยินดี : http://suanyindee.lnwshop.com/p/11
– ร้านหนังสือชั้นนำทั่วไป
– หรืออ่านได้จากห้องสมุดทั่วไป

การทำบุญที่แท้จริง

การทำบุญให้ได้อานิสงส์สูงจริงๆนั้น ต้องไม่หวังสิ่งตอบเเทน จึงเป็นการสละออกอย่างเเท้จริง จัดว่าเป็น ทานบารมี เเต่หากเราหวังจะได้อานิสงส์ มีโลภะ(ความโลภ)ประกอบจิตเข้าไปด้วย ผลที่ได้รับจะบริสุทธิ์ยิ่งใหญ่อย่างที่บอกก็หาไม่ ฉะนั้น การทำบุญจงมองให้พ้นเรื่องของตัวบุคคลไป ทำเพราะว่าเป็นสิ่งสมควรทำ ทำเเล้วจะไม่สุข ไม่ทุกข์ ไม่ได้ทำเพื่อตนเอง เเต่ทำเพื่อผู้อื่น ทำเพื่อศาสนา ทำเพื่อประเทศชาติ ทำเพราะเห็นว่าจะเกิดประโยชน์กับผู้อื่น ไม่ใช่เพราะอยากได้บุญเเต่อย่างใด เเละเมื่อจิตเกิดปัญญาเต็มที่เเล้วก็จะไม่ทำเพื่ออะไรทั้งสิ้น
อาจารย์ประเสริฐ อุทัยเฉลิม
เนื้อหาส่วนหนึ่งจากหนังสือ “นิพพานชั่วพริบตา”
นิพพานชั่วพริบตา

ท่านสามารถหาอ่านหนังสือเล่มนี้ได้ที่
– ร้านนายอินทร์ : http://goo.gl/oSFjEP
– ร้านซีเอ็ด : https://se-ed.com/s/bXrE
– ร้านสวนยินดี : http://suanyindee.lnwshop.com/p/11
– ร้านหนังสือชั้นนำทั่วไป
– หรืออ่านได้ในห้องสมุด

การทำบุญให้ได้อานิสงส์สูงจริงๆ

การทำบุญให้ได้อานิสงส์สูงจริงๆ นั้น ต้องไม่หวังสิ่งตอบเเทน จึงเป็นการสละออกอย่างเเท้จริง จัดว่าเป็น ทานบารมี เเต่หากเราหวังจะได้อานิสงส์ มีโลภะประกอบจิตเข้าไปด้วย ผลที่ได้รับจะบริสุทธิ์ยิ่งใหญ่อย่างที่บอกก็หาไม่ ฉะนั้น การทำบุญจงมองให้พ้นเรื่องของตัวบุคคลไป ทำเพราะว่าเป็นสิ่งสมควรทำ ทำเเล้วจะไม่สุข ไม่ทุกข์ ไม่ได้ทำเพื่อตนเองเเต่ทำเพื่อผู้อื่น ทำเพื่อศาสนา ทำเพื่อประเทศชาติ ทำเพราะเห็นว่าจะเกิดประโยชน์กับผู้อื่น ไม่ใช่เพราะอยากได้บุญเเต่อย่างใด เเละเมื่อจิตเกิดปัญญาเต็มที่เเล้วก็จะไม่ทำเพื่ออะไรทั้งสิ้น
เรื่องควรรู้เกี่ยวกับบุญ บุญเป็นการชำระการสละออกซึ่งกิเลส คือความโลภ ความโกรธ ความหลง นั่นคือเมื่อสละสิ่งนี้ออก ความเป็นตัวตนจะต้องลดลง วันนี้การทำบุญเพี้ยนไปเป็นความรู้สึกว่าอยากจะได้บุญ นั้นเป็นโลภะ โลภะเป็นปัจจัยสู่วิสัยเเห่งเปรต ไหนว่าจะละโลภะละจิตเปรตยังไงล่ะ เรื่องของเรื่องมันเหมือนเกมกระซิบต่อ ที่ความจริงถูกเเปรเปลี่ยนไปตามระยะทาง เวลาเเละความเห็นผิดของผู้คน เข้าไปผสมในการบอกกล่าว
มีใครใส่บาตรโดยรู้สึกว่าอาหารที่พระรับไปท่านจะได้ฉันโดยมีชีวิตต่อไปได้อีกหนึ่งวันบ้าง ทุกคนอยากได้บุญซึ่งในความหมายจริงๆ ก็คือคนใส่บาตรอยากได้อานิสงส์ วันข้างหน้า ชาติหน้าจะได้มีกินต่อไปไม่อดอยากใช่ไหม ตกลงเราจะให้ หรือเราจะเอา เรารู้มากไปละมั้งว่าถ้าทำอะไรจะได้อะไร เราเลยอยากได้ผลเเห่งบุญนั้น
ส่วนการอธิษฐานนั้น ไม่ควรนำมาสับสนเเต่ก็สับสนจนได้ เพราะคำว่าอธิษฐานในวันนี้คือการขอไปซะเเล้ว ไปวัดไหนก็ขอ บนบานศาลกล่าวกันจนลืมความหมายจริงๆ ของการอธิษฐานไปหมดเเล้ว หากใครทำบุญถวายทาน เเล้วอธิษฐานว่า “นิพพานังปัจจโยโหตุ” ขอการทำบุญนี้เป็นปัจจัยให้ถึงมรรคผลนิพพาน การถึงมรรคผลคือลดความเห็นเเก่ตัวลงจนหมด วางตัวลงได้ เป็นการสลัดออก ไม่ได้เอาเข้าตัว นิพพานไม่ใช่สิ่งของที่อยากได้เข้ามา ดังนั้น การอธิษฐานเเบบนี้เป็นเพียงการตั้งความปรารถนาที่ถูกต้องเท่านั้นเอง เพื่อเป็นธงชัยให้เราเดิน เเละกระทำสิ่งที่ถูกต้อง เพื่อให้ถึงความหลุดพ้น
ดังนั้นถ้าทำบุญเเละยังอยากได้บุญอยู่ เเปลว่าจริงๆ เเล้วยังไม่รู้จักบุญด้วยซ้ำไป
อาจารย์ประเสริฐ อุทัยเฉลิม
เนื้อหาส่วนหนึ่งจากหนังสือ “นิพพานชั่วพริบตา”

นิพพานชั่วพริบตา

ท่านสามารถหาอ่านหนังสือเล่มนี้ได้ที่
– ร้านนายอินทร์ : http://goo.gl/oSFjEP
– ร้านซีเอ็ด : https://se-ed.com/s/bXrE
– ร้านสวนยินดี : http://suanyindee.lnwshop.com/p/11
– ร้านหนังสือชั้นนำทั่วไป
– หรืออ่านได้ในห้องสมุด

แท้จริงเราทำบุญเพื่ออะไร บุญเกิดจากอะไรบ้าง

เรานี้แหละจะพยากรณ์ตัวเราเอง
ผมถามง่ายๆ เลย เวลาท่านใส่บาตร อะไรที่ท่านคิดอยู่ในใจครับ เอาที่ท่านคิดอยู่ทุกวันหรือว่าที่เวลาที่ไปใส่บาตร สมมุติว่าผมยกตัวอย่างสักคนหนึ่ง ก็ขอให้ได้มีกินมีใชัในภพนี้ ภพหน้า อะไรก็เเล้วเเต่ เวลาเราไปทำบุญใส่บาตรเราก็เพื่อเราจะได้มีกินมีใช้ในอนาคตหรือว่าในชาติหน้า(คนชอบมองไปชาติหน้า)ก็เอาชาติหน้าก็ได้
ผมถามง่ายๆ ว่า มีใครไหมที่ใส่บาตรเเล้ว ขณะที่กำลังใส่บาตร คิดว่าอาหารถุงนั้นพระจะได้ฉันในวันนั้น มีไหม อาหารที่เราใส่ในบาตรพระจะได้เอาไปฉันวันนั้น
ไม่มี (เอ้า! เเล้วไม่ใช่จุดมุ่งหมายของการใส่เหรอ เอาไปให้ท่าน เพื่อท่านจะได้ฉันไง) เออ เเต่เราไม่เคยคิด เราคิดมีเเต่จะเอา
บางคนไปวัด ไปล้างห้องน้ำ ผมก็ถามว่า โอ้! ขยันนะล้างห้องน้ำ เขาก็บอกผมว่า “..อาจารย์ล้างห้องน้ำเนี่ยได้บุญมาก..” ผมบอกอ๋อเหรอ ได้ยังไงล่ะบุญเนี่ยล้างห้องน้ำ “..รู้ไหมอาจารย์ มันเป็นสุขา สุขาเนี่ยมีคนเขามาถ่ายทุกข์ ถ้าล้างห้องน้ำเนี่ยมันจะได้บุญเยอะ..”
อ่อ…คุณไม่เคยคิดเลยหรือว่า คนที่มาใช้คนต่อไปเขาจะได้ใช้ห้องน้ำที่สะอาด ล้างห้องน้ำ ยังจะเอาอีกเหรอ ไม่เคยคิดถึงคนอื่นเลยหรือ นี้มันอะไรกัน
บุญเเปลว่าอะไร ผมถามเขาว่า บุญเเปลว่าอะไร
ตอนนี้ชาวพุทธเป็นอะไร ไปทำบุญ ไปเอาบุญ เอาอะไรบุญ
เรามาทำความเข้าใจเรื่องง่ายๆ ที่กำลังสับสนกันดีกว่า ชาวพุทธเราส่วนใหญ่ยังเข้าใจผิดเกี่ยวกับเรื่องของ “บุญ” คิดว่าการทำบุญก็คือ การตักบาตร, การถวายทรัพย์, ปัจจัย, การถวายสังฆทาน เพียงเท่านี้เป็นต้น
“บุญ” หรือ “ปุญญะ” เเปลว่า ชำระ หมายถึงการทำให้หมดจด จากมลทิน เครื่องเศร้าหมองอันได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ
บุญ ตามพระไตรปิฎกเราสามารถสร้าง “บุญ” ได้ถึง ๓ อย่างคือ ๑.ทาน ๒.ศีล ๓.ภาวนา
๑. ทาน คือการให้ เช่นที่กล่าวมาเเล้ว คือการตักบาตร บริจาคทรัพย์ ถวายสังฆทาน เป็นต้น ถือเป็นจาคะ หรือการให้นับเป็นบุญอย่างหนึ่ง (# แต่มีการให้บางประการที่ไม่นับเป็นบุญเช่น สุรา มหรสพ ให้สิ่งเพื่อกามคุณ เป็นต้น)
๒. ศีล คือ ความประพฤติที่ไม่ละเมิดหรือ รักษาความสำรวมทางกาย วาจา การรักษาศีลสำหรับ ฆราวาส ได้เเก่ ศีล ๕ เเละอุโบสถศีล(มี ๘ ข้อ)
๓. ภาวนา คือ การอบรมจิตทางสมถะเเละทางวิปัสสนา การนั่งสมาธิ เรียกว่า สมถะภาวนา ส่วนการนั่งวิปัสสนา (สติรู้ถึงรูป-นาม) เรียกว่า วิปัสสนาภาวนา
อาจารย์ประเสริฐ อุทัยเฉลิม

เนื้อหาส่วนหนึ่งจากคอร์สปฏิบัติธรรม มัคคานุคาเบื้องต้น
http://youtu.be/IsyQp2y-m5U?list=PLg335evdAUbbKXh0LraWoKKGI_P37WVFt